วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เรียบเรียง คำพิพากษา กรณี มีเพลงอยู่ใน Computer

เรียบเรียง คำพิพากษา กรณี มีเพลงอยู่ใน Computer
ฎีกาตัดสินเกี่ยวกับปัญหาข้อกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7873/2549
พนักงานอัยการจังหวัดลำปาง โจทก์
นายสุนทร บุญประเสริฐ จำเลย
พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 27, 28, 31(2), 69 วรรคสอง, 70 วรรคสอง

เจตนารมณ์ ของกฎหมายในการร้องทุกข์ก็เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทราบว่ามีการกระทำ ความผิดเกิดขึ้นและประสงค์จะให้มีการนำผู้กระทำความผิดมาลงโทษ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ร. ผู้รับมอบอำนาจช่วงจากผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานตำรวจ และต่อมาได้นำเจ้าพนักงานตำรวจค้นร้านที่เกิดเหตุและจับจำเลยส่งพนักงานสอบ สวน จากนั้น ร. จึงได้ร้องทุกข์อีกครั้ง โดยการร้องทุกข์ครั้งหลังมีข้อความระบุถึงตัวผู้กระทำผิดและลักษณะของความ ผิดชัดเจนถือได้ว่าคดีนี้มีการร้องทุกข์โดยชอบและทำให้การสอบสวนในเวลาต่อมา ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานสร้างสรรค์ประเภทดนตรีกรรม สิ่งบันทึกเสียง และโสตทัศนวัสดุของผู้เสียหายโดยนำเอางานซึ่งมีลิขสิทธิ์ตามฟ้องไปบรรจุใน เครื่องอ่านข้อมูล แล้วแปลงสัญญาณดิจิตอลเป็นสัญญาภาพและเสียง แพร่ภาพ เนื้อร้อง และทำนองทางจอมอนิเตอร์ และแพร่เสียงทางลำโพงสำหรับลูกค้า ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 27, 28, 29 และ 69 แสดงว่าโจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยในการกระทำความผิดเกี่ยวกับการทำซ้ำซึ่ง งานดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ หรือสิ่งบันทึกเสียง ซึ่งไม่ใช่เรื่องการกระทำผิดเกี่ยวกับการแพร่งานดังกล่าวต่อสาธารณชน เพราะงานที่ถูกบรรจุในเครื่องอ่านข้อมูลนั้นเป็นงานที่ถูกทำซ้ำขึ้นใหม่ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งเป็นงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น การเผยแพร่งานที่บรรจุไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวต่อสาธารณชนจึงไม่ใช่ ความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 69 วรรคสอง ประกอบมาตรา 27 (2), 28 (2) และไม่อาจถือได้ว่าโจทก์มีความประสงค์ที่จะขอให้ลงโทษจำเลยในเรื่องการเผย แพร่งานซึ่งได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อหากำไรด้วยการเผย แพร่ต่อสาธารณชน อันจะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (3) ด้วย เพราะโจทก์ไม่ได้อ้างบทกฎหมายตรานี้ไว้ในคำฟ้องแต่อย่างใด
________________________________

โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 4, 6, 8, 15, 27, 28, 29, 69, 75 และ 76 ริบของกลาง และให้จ่ายเงินค่าปรับฐานละเมิดลิขสิทธิ์กึ่งหนึ่งให้แก่ผู้เสียหายซึ่งเป็น เจ้าของลิขสิทธิ์
จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษายกฟ้อง คืนของกลางแก่เจ้าของ
โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศวินิจฉัยว่า มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ประการแรกว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีนี้หรือไม่ เห็นว่า คำร้องทุกข์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (7) หมายความถึง การที่ผู้เสียหายได้กล่าวหาต่อเจ้าหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ว่ามีผู้กระทำความผิดขึ้น จะรู้ตัวผู้กระทำความผิดหรือไม่ก็ตาม ซึ่งกระทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย และการกล่าวหาเช่นนั้นได้กล่าวโดยมีเจตนาจะให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษ และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 123 วรรคสอง ระบุว่า คำร้องทุกข์นั้นต้องปรากฏชื่อและที่อยู่ของผู้ร้องทุกข์ ลักษณะแห่งความผิด พฤติการณ์ต่างๆ ที่ความผิดนั้นได้กระทำลง ความเสียหายที่ได้รับ และชื่อหรือรูปพรรณของผู้กระทำความผิดเท่าที่จะบอกได้ แสดงให้เห็นว่า เจตนารมณ์ของกฎหมายในการแจ้งความร้องทุกข์นั้น ก็เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทราบว่ามีการกระทำความผิดเกิดขึ้น และประสงค์ที่จะให้มีการนำผู้กระทำความผิดมาลงโทษ เมื่อคดีนี้ข้อเท็จจริงได้ความว่า นายรพีพัฒน์เข้าร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานตำรวจครั้งแรกตามรายงานประจำวัน เกี่ยวกับคดี และนายรพีพัฒน์ได้นำเจ้าพนักงานตำรวจไปทำการตรวจค้นร้านที่เกิดเหตุและจับ จำเลยส่งพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีต่อไปจากนั้นนายรพีพัฒน์ยังได้ร้อง ทุกข์อีกครั้งตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีโดยการร้องทุกข์ในครั้งหลังนี้ มีข้อความที่ระบุถึงตัวผู้กระทำความผิดและลักษณะแห่งความผิดชัดเจน ถือได้ว่าคดีนี้มีการร้องทุกข์และทำให้การสอบสวนในเวลาต่อมาชอบด้วยกฎหมาย แล้ว ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยมานั้น ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่เห็นพ้องด้วย อุทธรณ์ของโจทก์ในข้อนี้ฟังขึ้น

......ศาลฎีกาแผนกคดี ทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศจะวินิจฉัยต่อไปในปัญหาที่ว่าจำเลย กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ เห็นว่าคดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ละเมิดลิขสิทธิ์ในงานสร้างสรรค์ประเภทดนตรีกรรมสิ่งบันทึกเสียง และโสตทัศนวัสดุของผู้เสียหาย โดยนำเอาเพลงขอเลวแค่นี้ รักแท้แพ้ใกล้ชิด ชดใช้ยังไง ข้อดีที่มีเธอ ซึ่งเป็นผลงานเพลงในอัลบัมเพลงชุด “ปาน ทรู สตอรี่ ความรัก/ผู้ชาย/ปลาย่าง” ซึ่งขับร้องโดย ธนพร แวกประยูร นำไปบรรจุในเครื่องอ่านข้อมูล ซึ่งทำการแปลงสัญญาณดิจิตอลเป็นสัญญาณภาพและเสียง โดยแพร่ภาพ เนื้อร้อง และทำนองทางจอมอนิเตอร์ และแพร่เสียงผ่านทางลำโพง ไว้สำหรับบริการลูกค้า กับขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 4, 6, 8, 15, 27, 28, 29, 69, 75 และ 76

แสดงว่าโจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยในการกระทำความผิดเกี่ยวกับการทำซ้ำซึ่ง งานดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ หรือสิ่งบันทึกเสียงตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 69 วรรคสอง ประกอบมาตรา 27 (1), 28 (1) ซึ่งไม่ใช่เรื่องของการกระทำความผิดเกี่ยวกับการเผยแพร่งานดังกล่าวต่อ สาธารณชน เพราะงานที่ถูกบรรจุในเครื่องอ่านข้อมูลนั้นเป็นงานที่ถูกทำซ้ำขึ้นใหม่หรือ กล่าวอีกนัยหนึ่งเป็นงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น
หาใช่งานดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ หรือสิ่งบันทึกเสียง ที่แท้จริงของผู้เสียหาย ตามความหมายของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 27 และ 28 ไม่ การเผยแพร่งานที่บรรจุไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวต่อสาธารณชน
จึงไม่ เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 69 วรรคสอง ประกอบมาตรา 27 (2), 28 (2)
และไม่อาจถือได้ว่า โจทก์มีความประสงค์ที่จะขอให้ลงโทษจำเลยในเรื่องของการเผยแพร่งานซึ่งทำขึ้น โดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อหากำไรด้วยการเผยแพร่ต่อสาธารณชน อันจะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (2) ด้วย เพราะโจทก์ไม่ได้อ้างบทกฎหมายมาตรานี้ไว้ในคำฟ้องแต่อย่างใด พยานหลักฐานของโจทก์จึงไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง

กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยพยานหลักฐานของจำเลยเพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษายกฟ้องมานั้น ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นพ้องด้วยในผล
พิพากษายืน
( พิชิต คำแฝง - สุวัฒน์ วรรธนะหทัย - ปัญญารัตน์ วิระยะวานิช )
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง - นายสุทิน ปัทมราชวิเชียร
…………………………………………………………………………………………………………………………
หมายเหตุ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7873/2549 นี้
หมายความว่า ศาลแนะนำว่า ต้องฟ้องตามมาตรา 31 เท่านั้น
มาตรา 31 ผู้ใดรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานใดได้ทำขึ้น โดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานนั้น เพื่อหากำไร ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้
(1) ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย ให้เช่า เสนอให้เช่า ให้เช่าซื้อ หรือเสนอให้เช่าซื้อ
(2) เผยแพร่ต่อสาธารณชน
(3) แจกจ่ายในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์
(4) นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร
...
ร้านอาหารเปิดเพลงMP3ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ การละเมิดลิขสิทธิ์เพลงของผู้อื่น ต้องเป็นกรณีที่ทำละเมิดขึ้น "เพื่อหากำไร" เท่านั้น เจ้าของขายอาหารและเครื่องดื่มเปิดเพลงจาก MP3 ให้ลูกค้าฟังในร้านอาหารโดยไม่ได้หากำไรโดยตรงจากเพลงที่เปิดหรือเรียกเก็บ ค่าตอบแทนจากลูกค้าจึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้ อื่น แม้จำเลยจะรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10579/2551
โจทก์บรรยายฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 ซึ่งบัญญัติว่า “ผู้ใดรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ ของผู้อื่น กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานนั้นเพื่อหากำไร ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์...” ความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวจึงต้องเป็นการกระทำแก่งานที่ได้ทำขึ้นโดย ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น “เพื่อหากำไร” เท่านั้น แต่ตามที่โจทก์บรรยายฟ้องปรากฏแต่เพียงว่า จำเลยเปิดแผ่นเอ็มพีสามและซีดีเพลงให้ลูกค้าในร้านอาหารได้ร้องและฟังเพลง ของผู้เสียหาย 1 แผ่น “เพื่อประโยชน์ในทางการค้า” ขายอาหารและเครื่องดื่มของจำเลยแต่ไม่ปรากฏในคำฟ้องว่าจำเลยกระทำเพื่อหา กำไรโดยตรงจากการที่ให้ลูกค้าได้ร้องและฟังเพลงโดยเรียกเก็บค่าตอบแทนจาก ลูกค้าในการเปิดเพลงดังกล่าวหรือเรียกเก็บรวมไปกับค่าอาหารและเครื่องดื่ม แต่อย่างใด การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยได้ ตาม พ.ร.บ.จั้ดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณา คดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 185
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 4, 6, 8, 15, 17, 31, 70, 76 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 ริบของกลาง และสั่งจ่ายเงินค่าปรับฐานละเมิดลิขสิทธิ์กึ่งหนึ่งให้แก่ผู้เสียหายซึ่ง เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์
จำเลยให้การรับสารภาพ
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง พิพากษายกฟ้อง ของกลางคืนให้แก่เจ้าของ
โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศวินิจฉัยว่า คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 ซึ่งบัญญัติว่า “ผู้ใดรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ ของผู้อื่น กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานนั้นเพื่อหากำไร ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์...” ความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวจึงต้องเป็นการกระทำแก่งานที่ได้ทำขึ้นโดย ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น “เพื่อหากำไร” เท่านั้น แต่ตามที่โจทก์บรรยายฟ้องมานั้นปรากฏว่าจำเลยเปิดแผ่นเอ็มพี 3 และซีดีเพลงให้ลูกค้าในร้านอาหารของจำเลยได้ร้องและฟังเพลงของผู้เสียหาย จำนวน 1 เพลง เพียง “เพื่อประโยชน์ในทางการค้า” ขายอาหารและเครื่องดื่มของจำเลย ตามคำบรรยายฟ้องดังกล่าวไม่ปรากฏว่าจำเลยกระทำเพื่อหากำไรโดยตรงจากการที่ ให้ลูกค้าได้ร้องและฟังเพลง โดยเรียกเก็บค่าตอบแทนจากลูกค้าในการเปิดเพลงดังกล่าว หรือเรียกเก็บรวมไปกับค่าอาหารและเครื่องดื่มแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยตามฟ้องจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 เพราะไม่ครบองค์ประกอบความผิดของบทมาตราดังกล่าวซึ่งต้องเป็นการกระทำเพื่อ หากำไรโดยตรงจากการละเมิดลิขสิทธิ์ แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยได้ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธี พิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษายกฟ้องโจทก์จึง ชอบแล้ว อุทธรณ์ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น…พิพากษายืน…
-----------------------------------------------------------------------------------------------
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7873/2549 ระบุไว้ว่า
เพราะงานที่ถูกบรรจุในเครื่องอ่านข้อมูลนั้นเป็นงานที่ถูกทำซ้ำขึ้นใหม่หรือ กล่าวอีกนัยหนึ่งเป็นงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น

หาใช่งานดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ หรือสิ่งบันทึกเสียง ที่แท้จริงของผู้เสียหาย ตามความหมายของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 27 และ 28 ไม่

การเผยแพร่งานที่บรรจุไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวต่อสาธารณชน จึงไม่ เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 69 วรรคสอง ประกอบมาตรา 27 (2), 28 (2)
ในกรณีนี้(7873/2549) ศาลท่านให้ความเห็นว่า
และไม่อาจถือได้ว่า โจทก์มีความประสงค์ที่จะขอให้ลงโทษจำเลยในเรื่องของการเผยแพร่งานซึ่งทำขึ้น โดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อหากำไรด้วยการเผยแพร่ต่อสาธารณชน อันจะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (2) ด้วย เพราะโจทก์ไม่ได้อ้างบทกฎหมายมาตรานี้ไว้ในคำฟ้องแต่อย่างใด พยานหลักฐานของโจทก์จึงไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง
-----------------------------------------------------------------------------------------------
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10579/2551 ระบุไว้ว่า
มาตรา 31 ซึ่งบัญญัติว่า “ผู้ใดรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ ของผู้อื่น กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานนั้นเพื่อหากำไร ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์...” ความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวจึงต้องเป็นการกระทำแก่งานที่ได้ทำขึ้นโดย ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น “เพื่อหากำไร” เท่านั้น
ตามคำบรรยายฟ้องดังกล่าวไม่ปรากฏว่าจำเลยกระทำเพื่อหากำไรโดยตรงจากการที่ ให้ลูกค้าได้ร้องและฟังเพลง โดยเรียกเก็บค่าตอบแทนจากลูกค้าในการเปิดเพลงดังกล่าว หรือเรียกเก็บรวมไปกับค่าอาหารและเครื่องดื่มแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยตามฟ้องจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31

ทั้งสองฎีกานี้
ฏีกาแรกนั้นแสดงว่า เพลงที่บรรจุอยู่ใน Computer นั้นไม่ใช่ผลงานใดๆของผู้เสียหาย ข้อกล่าวหาที่ผู้รับมอบอำนาจมาแจ้งความร้องทุกข์ทั้งหมดนั้น จึงเป็นการแจ้งความและใส่ความเป็นเท็จทั้งสิ้น ซึ่งศาลท่านได้แนะนำว่า จะผิดได้ในมาตรา 31 เท่านั้น
ฏีกาหลังนั้นแสดงว่า ความผิดตามมาตรา 31นั้น จะต้องกระทำเพื่อหากำไรจากงานเพลงเท่านั้น(เก็บค่าร้องเพลงหรือค่าฟังเพลง)
  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น